มาทำความรู้จักกับ ชินชิล่า ( Chinchilla ) เป็นสัตว์เลี้ยงเมืองหนาว อยู่ในสัตว์จำพวกฟันแทะ ด้วยความน่ารักของมัน ทำให้ตอนนี้ในประเทศไทยได้ไปหาซื้อกันมาเป็นสัตว์เลี้ยงกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ

ชินชิล่าเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน รักสงบ มีถิ่นอาศัยดั้งเดิมอยู่บริเวณที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้ แถบเทือกเขาคีรีมอนจาโร ประเทศอาร์เจนติน่า บราซิล และชิลี

ชินชิล่า ( Chinchilla )

ข้อมูลทั่วไป

ชินชิลล่า เป็นสัตว์ป่าซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขา Andes ในแถบอเมริกาใต้ แถบประเทศอาเจนตินา โบลิเวีย ชิลี และเปรู ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ.1810 และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี ค.ศ.1900           

ในธรรมชาติชินชิลล่าเป็นสัตว์สังคม รักความสงบ ไม่ค่อยพบการต่อสู้กันเอง และอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ประมาณ 100 ตัว เพื่อป้องกันภัยจากผู้ล่าในป่า เช่น เหยี่ยว สกังค์ แมวป่า และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ 

โดยอาศัยอยู่ในโพรงหรือรอยแยกของหิน สามารถกระโดดได้อย่างว่องไวและกระโดดได้สูงกว่า 5 ฟุต พฤติกรรมการหาอาหารนั้น เจ้าชินชิลล่าออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกินผัก ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง รวมทั้งหญ้าแห้งเป็นอาหาร แต่ในเวลากลางวันจะนอนและต้องการความเงียบสงบ           

ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และตั้งท้องยาวนานมากเมื่อเทียบกับสัตว์ฟันแทะชนิดอื่นคือ 111 วัน ดังนั้นลูกชินชิลล่าที่เกิดมาจึงมีขนขึ้นเต็มตัวและลืมตาแล้ว แต่มักจะมีลูกจำนวนน้อยต่อครอก

ส่วนใหญ่ประมาณ 2 ตัวต่อครอก มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี ( บางตัวอาจจะมากถึง 20 ปี ) ชินชิลล่ามักจะทำเสียงหลายๆ แบบเพื่อแสดงความรู้สึกต่างๆ เช่นเสียงเห่า เสียงร้อง และเสียงเอี๊ยดๆ คล้ายเสียงเปิดบานพับของประตู หรือ หน้าต่าง และนอกจากนั้น  ชินชิลล่าสามารถได้ยินเสียงในช่วงคลื่นความถี่ 20 – 30 Hz ซึ่งใกล้เคียงกับมนุษย์

ชินชิล่า ( Chinchilla )

ชนิดและสายพันธุ์

เดิมนั้นมี 2 ชนิด Chinchilla brevicaudata และ Chinchilla lanigera

โดย Chinchilla brevicaudata หูและหางจะสั้น คอและไหล่จะหนากว่าChinchilla lanigera แต่ในปัจจุบันพบว่า Chinchilla brevicaudata ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ดังนั้นชินชิลล่าที่มนุษย์นำมาเลี้ยงจึงเป็นชนิด Chinchilla lanigera  ซึ่งยังสามารถพบได้ในป่าจำนวนเล็กน้อย

ชินชิลล่าเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีหูกางใหญ่คล้ายหนู ขนาดรูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขนมีลักษณะแน่นและหนา เพื่อป้องกันตัวเองจากอากาศหนาวเย็นบนเทือกเขาสูง อุ้งเท้าออกแบบมาเพื่อการเดินบนแผ่นหิน มีหลากหลายสีสันเช่น สีเทา สีเทาอ่อน สีดำ หางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก

ชินชิล่า ( Chinchilla )

การเลี้ยงดู

1. การเลี้ยง

เนื่องจากนิสัยตามธรรมชาติของชินชิลล่าจะเป็นสัตว์ที่กระตือรือร้นและชอบสำรวจ ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่และควรจะพาออกไปเดินเล่นนอกกรงอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อออกกำลังกายและลดความเครียด

ตามปกติชินชิลล่าจะไม่ชอบความเปียกชื้น เนื่องจากขนของชินชิลล่าจะมีลักษณะแน่นและหนา เมื่อเปียกน้ำจึงอับชื้นและขึ้นราได้ง่าย ถ้าไม่ทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว แต่จะมีสัญชาติญาณในการทำความสะอาดขนโดยกลิ้งไปมาบนทรายหรือฝุ่นหินภูเขาไฟ

ซึ่งเรียกว่า Chinchilla dust ( dust baths ) โดยจะทำความสะอาดขนหลายครั้งใน 1 สัปดาห์ โดยการเอาฝุ่นอาบน้ำลงในขัน หรืออ่างขนาดพอตัวให้ลงคลุกด้วยตัวเอง จากนั้นประมาณ 10 นาที ให้นำเอาฝุ่นอาบน้ำออกใครที่คิดจะเลี้ยง ชินชิล่า จะดีมากหากคุณเลี้ยงมันไว้ในห้องแอร์ เพราะโดยธรรมชาติ ชินชิล่าเป็นสัตว์เมืองหนาว

ชินชิล่าสามารถปรับตัวให้อยู่ในห้องที่ไม่ต้องเปิดแอร์ได้ แต่จะต้องไม่ร้อนจนเกินไป ส่วนเรื่องราคาของชินชิล่าจะขึ้นอยู่ที่สี มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น สีที่เป็นที่นิยมได้แก่ สแตนดาร์ด เกรย์ ซึ่งเป็นสีพื้นฐานที่นิยมทั่วไป และยังมีสีพิเศษอีกจะเป็นพวกขาวตาแดง ( ขาวทั้งตัว ) , สีโมเสด, สีอีโมนี่ ( ดำทั้งตัว ) , สีพวกไวโอเล็ต และพิ้งค์

2. การให้อาหาร

ชินชิลล่าเป็นสัตว์กินพืชเป็นหลักมีระบบการทำงานและการย่อยอาหารที่ทางเดินอาหารส่วนท้ายเป็นหลัก เช่นเดียวกับกระต่าย มีระบบทางเดินอาหารที่เปราะบางมาก ไม่สามารถย่อยอาหารไขมันและอาหารหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากไม่มีถุงน้ำดี ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอ็นไซด์ที่ช่วยย่อยไขมันในอาหารได้ ไขมันจึงสะสมในร่างกาย และทำให้ตับถูกทำลายได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการให้อาหารที่มีรสหวานเช่น แอปเปิ้ล องุ่น หรือเรซิน และอาหารที่มีไขมันสูงเช่น เมล็ดถั่ว หรือเมล็ดทานตะวันเป็นอาหารแก่ชินชิลล่าควรให้อาหารในเวลาเดียวกันทุกวัน

ส่วนใหญ่นิยมให้อาหารในช่วงเย็นเนื่องจากช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชินชิลล่ามีกิจกรรมมากที่สุดซึ่งอาหารที่ให้อาจจะประกอบด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่เหมาะสม ควรจะจำกัดอาหารเม็ด ไม่ให้เกินไปกว่าวันละ 1 – 2 ช้อนชาต่อตัว หญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูงที่ได้การยอมรับ ได้แก่ หญ้าทิโมธี และน้ำสะอาด หญ้าแห้งควรเป็นองค์ประกอบหลัก

เนื่องจากมีเยื่อใยสูง ช่วยในกระบวนการเคี้ยว การทำงานที่สมบูรณ์ของทางเดินอาหาร ลดปัญหาท้องผูก ท้องอืด ท้องเสีย และยังช่วยลับฟันอีกด้วยอาจจะให้ลูกเกดหรือมะละกอแห้งชิ้นเล็กๆ เป็นอาหารได้ แต่ไม่ควรให้มากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้ หรือการให้กินในระยะยาวอาจจะทำให้อ้วนได้

การให้ผักสดเป็นอาหารอาจจะทำให้ชินชิลล่าท้องอืดและตายได้การเปลี่ยนอาหารต้องค่อยๆ เปลี่ยน ต้องใช้เวลาหลายๆ วัน ไม่ควรทำการเปลี่ยนในทันที การเปลี่ยนอาหารจะมีผลต่อความเป็นกรดด่าง

และปริมาณจุลชีพที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้จุลชีพเหล่านั้นตาย แบคทีเรียที่ก่อโรคจะขยายตัวเกิดปัญหาท้องเสียตามมาได้ ในแต่ละวันสิ่งที่เจ้าของต้องปฏิบัติ คือ การสำรวจมูลหรืออึ เพื่อสังเกตหาความผิดปกติ

ชินชิล่า ( Chinchilla )
3. อาหาร

ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่กินน้อย เพราะมาจากเขตที่แห้งแล้งบนเทือกเขาสูง กินเพียงหญ้าแห้งและเมล็ดพืช ดังนั้น เราจึงไม่ควรให้อาหารมากเกินไป แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูปของชินชิล่า 2 ช้อนโต๊ะต่อวันหรือ 1/3 ถ้วย สำหรับตัวโตเต็มวัย

ร่วมกับการให้หญ้าแห้งควบคู่ไปด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบธรรมดาหรือแบบอัดแท่งก็ได้ นอกจากนี้ อาจจะให้ผลไม้หรือผักสดชิ้นเล็ก ๆ 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยระบบย่อย เช่น แอปเปิ้ล แต่ไม่ควรให้ กะหล่ำปลี ข้าวโพด หรือผักกาด เพราะผักเหล่านี้มีแก๊สซี่งอาจจะทำให้ชิลชิล่าตายได้

4. การอาบน้ำ

สำหรับการทำความสะอาดตัวของชินชิล่า ห้ามอาบน้ำเด็ดขาด ให้ใช้ทรายขี้เถ้าภูเขาไฟสำหรับชินชิล่าโดยเฉพาะ โดยการนำขี้เถ้าภูเขาไฟใส่โหลแก้ว หรือถาด แล้วใส่ไว้ในกรงชินชิล่าจะลงไปคลุกทำความสะอาดตัวเอง

ชินชิล่า ( Chinchilla )

ฉลองการได้สัตว์เลี้ยงโดยการที่พาเจ้าตัวเล็กไป เที่ยวระยอง คลายเครียดให้กับตัวเองแล้วก็สัตว์เลี้ยงตัวน้อย แล้วถ้าคุณยังไม่อยากไปที่นี่ เราก็มีบทความแนะนำที่พูดถึงการ เที่ยวยุคใหม่ ที่จะทำให้คุณเข้าถึงการเที่ยวแบบใหม่ๆได้ตลอดเวลา